การรับสมัครนี้มีชื่อเต็มว่า #การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู
ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ของปี 2565 ( 1 ปี มีการสอบ 2 ครั้ง) เริ่มครั้งแรกเมื่อ 2564
การทดสอบฯ คือ การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทางการศึกษาที่ได้รับการรับรองหลังจากเรียนจบ เป็นการทดสอบของสภาวิชาชีพตามที่กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพบัญญัติไว้
จำนวนรายวิชาที่ต้องสอบมี 4 รายวิชา คือ
1) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
2) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
3) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพี่อการศึกษา
4) วิชาชีพครู
หมายเหตุ ผู้จบการศึกษาหรือผู้อยู่ระหว่างเรียน “หลักสูตรนานาชาติที่คุรุสภารับรอง” ไม่ต้องสมัครสอบรายวิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
การสอบ มี 2 ส่วน คือ คำถามแบบเลือกตอบ(ปรนัย) และคำถามแบบเขียนตอบ(อัตนัย)
ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครสอบคือ
1. “ผู้สำเร็จการศึกษา” ปริญญาทางการศึกษา ที่คุรุสภารับรอง มีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เป็นหลักในการผลิต ที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2562
2. “ผู้สำเร็จการศึกษา” หลักสูตรวิชาชีพครูที่คุรุสภารับรองทั้ง 3 วุฒิ คือ ป.บัณฑิต ป.โทวิชาชีพครู ป.เอกวิชาชีพครู ที่คุรุสภารับรอง และเข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2562
3. “ผู้อยู่ระหว่างศึกษา”
(1)* นิสิต/นักศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป ในหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษาที่คุรุสภารับรอง(ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์) และเข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป (ส่วนใหญ่ วิชาเอกสนับสนุนไม่ได้รับการรับรอง เพราะไม่ขอรับรอง นิสิต/นักศึกษาต้องไปเรียนเพิ่มวิชาชีพครู)
หมายเหตุ วุฒิหลักสูตรทางการศึกษา เช่น คบ. / ศษ.บ. / คอ.บ. / กศ.บ. / พธ.บ. บางสาขา / วท.บ.(การศึกษา) บางสาขา / ศศ.บ. (การศึกษา) บางสาขา ดูการรับรองที่นี่ https://www.ksp.or.th/ksp2018/cert-stdksp/
(2)* นิสิต/นักศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไป ในหลักสูตรวิชาชีพครู ทั้ง ป.บัณฑิตวิชาชีพครู, ป.โทวิชาชีพครู, ป.เอกวิชาชีพครู (ปี 2 ของ ป.บัณฑิตวิชาชีพครู คือเทอมที่ 3)
กรณี “ผู้อยู่ระหว่างเรียน” สถาบันที่นิสิต/นักศึกษาเรียนอยู่ จะต้องนำส่งรายชื่อและบันทึกข้อมูลนักศึกษาผ่านระบบของคุรุสภาเรียบร้อยก่อนสมัคร หากนิสิต/นักศึกษา ทำการสมัครแล้วไม่ปรากฎชื่อตนเอง ต้องสอบถามสถาบันที่ตนเรียนเท่านั้น
ผู้สำเร็จการศึกษา “คุณวุฒิจากต่างประเทศ” (คุรุสภาไม่ได้รับรอง) ต้องเข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป และคุณวุฒินั้นต้องได้การรับรองจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งก็คือ สกอ.เดิมที่อยู่ตรง ถ.ศรีอยุธยา (ปัจจุบันสังกัดกระทรวง อว.) มี 2 กรณี คือ
1. เป็นปริญญาทางการศึกษาโดยตรงหรือเทียบเท่า
2. เป็นปริญญาตรีอื่น (อว.รับรองแล้ว) + คุณวุฒิวิชาชีพครูของไทย ทั้งที่จบแล้ว และกำลังเรียนอยู่ต้องอยู่ปี 2 ขึ้นไป
วิธีสมัคร
1) ผู้ที่เคยสมัครทดสอบฯ แต่ยังไม่ครบทุกรายวิชา ในครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้า ตรวจสอบสิทธิโดยกรอกเลขบัตร ปชช. ของตนเองเพื่อเข้าสู่ระบบรับสมัคร กรณีไม่สามารถสมัครสอบฯ ได้ ให้ปฎิบัติตามขั้นตอนที่ปรากฎในระบบรับสมัครทดสอบฯ
2) ผู้สมัครเข้ารับการทดสอบฯ เป็นครั้งแรก ตรวจสอบสิทธิ โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สถาบันอุดมศึกษาลงทะเบียนและบันทึกข้อมูลผ่านระบบของคุรุสภาไว้แล้ว ถ้าเข้าไม่ได้ให้ติดต่อสถาบันที่ตนเองเรียน เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และให้สถาบันมีหนังสือแจ้งแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกลับมายังสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3) ผู้สมัครเข้ารับการทดสอบฯ เป็นชาวต่างประเทศจะใช้เลขประจำตัวคุรุสภาที่สถาบันอุดมศึกษาสร้างขึ้นผ่านระบบของคุรุสภาที่สถาบันได้ทำไว้แล้วแทนเลขประจำตัวประชาชน กรณีเข้าระบบไม่ได้ ให้ติดต่อสถาบันที่เรียนเช่นเดียวกัน
เอกสารที่แนบการสมัคร
จะสังเกตเห็นว่า ประกาศการรับสมัครของคุรุสภาไม่มีการระบุให้แนบเอกสารใด เพราะคุรุสภาใช้ระบบออนไลน์เกือบ 100% ดังนั้น ข้อมูลของนิสิต/นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสมัครทดสอบฯ อยู่ในระบบหมดแล้ว หากนิสิต/นักศึกษาเป็นผู้มีสิทธิ์สมัคร ตามรายละเอียดที่สถาบันที่เรียนส่งเข้าระบบของคุรุสภา เอกสารที่ต้องแนบเพียงอย่างเดียว คือ “รูปถ่าย” ของตัวนิสิต/นักศึกษา เท่านั้นค่ะ
…………………
รับสมัครออนไลน์ ระหว่างวันที่ 16-30 พฤศจิกายน 2565 เท่านั้น ที่ลิงก์นี้ https://ksp.thaijobjob.com/
……………..
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบฯ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ วันที่ 13 ธันวาคม 2565
…………….
วันสอบ คือ 24 และ 25 ธันวาคม 2565
…………..
ประกาศผลการทดสอบฯ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
……………
รายวิชาที่สอบผ่าน จะเก็บไว้ได้เพียง 3 ปี หมดอายุแล้วสมัครสอบใหม่ วิชาไหนไม่ผ่าน เก็บไว้ไปรอสอบรอบหน้า
………………
อัตราค่าสมัครเข้ารับการทดสอบฯ
ชาวไทย วิชาละ 300 บาท
ชาวต่างประเทศ วิชาละ 500 บาท
………………………..
สนามสอบมี 9 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้สมัครเลือกสนามสอบได้ 2 จังหวัด โดยให้ลำดับที่ 1 เป็นจังหวัดที่ต้องการสอบมากที่สุด และลำดับที่ 2 เป็นจังหวัดที่ต้องการสอบรองลงมา
เพราะถ้าเกิดจังหวะสนามที่ 1 เต็ม ก็ยังไปสนาม 2 ได้
…………………………….
การชำระเงิน
จ่ายเงินผ่านแอปธนาคารได้ทุกธนาคาร
โดยสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่ระบบกำหนดให้ ตามระยะเวลาที่กำหนด
ระวังเรื่องตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย ถ้าเลยเวลาต้องไปทำใหม่ แล้วเกิดผู้สมัครเต็มแล้วจะยุ่ง
…………….
คำถาม
1. หนู/ผม สอบมาแล้วแต่ยังไม่ผ่านวิชานั้นวิชานี้ ต้องสมัครอย่างไร?
คำตอบ : สมัครเฉพาะรายวิชาที่ไม่ผ่านค่ะ
2. สอบครบ 4 รายวิชา จะนำไปขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอย่างไร?
คำตอบ : นำไปรวมกับ (หนึ่ง) ผลการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพที่สถาบันที่ตนเองเรียน ดำเนินการ (สถาบันประเมินแล้วส่งให้คุรุสภารับรอง) (สอง)คุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษา (สาม)ผลการทดสอบทั้ง 4 รายวิชา ยื่นเข้าระบบการขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ksp self service ที่หน้าเว็บไซต์คุรุสภา
3. อยากได้สิทธิสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูนี้ต้องทำอย่างไร ?
คำตอบ : สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรทางการศึกษาที่คุรุสภารับรอง มีทั้งหมด 4 คุณวุฒิ
(หนึ่ง) ม.6 หรือเทียบเท่า สมัครปริญญาตรีทางการศึกษา ในครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยตรง
(สอง) ป.ตรีอื่น สมัครหลักสูตรวิชาชีพครู เลือกจาก 3 คุณวุฒินี้ คือ ป.บัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป.โทวิชาชีพครู หรือ ป.เอกวิชาชีพครู
ตรวจสอบว่าหลักสูตรใดเรียนได้บ้างที่ลิงก์นี้ https://www.ksp.or.th/ksp2018/cert-stdksp/
…………………………..
อ่านที่โพสต์มาทั้งหมด ถ้ายังไม่ปรากฎคำตอบที่สงสัย ตั้งคำถามเอาไว้ในช่องแสดงความเห็นไว้เลยค่ะ เดี๋ยวไปหาคำตอบให้
…………………………..
อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์คุรุสภา https://www.ksp.or.th/ksp2018/2022/11/40844/
ติดต่อสอบถามคุรุสภาโดยตรงเฉพาะเรื่องนี้ ที่ 02 280 0048 หรือ call center 02 304 9899