CaseStudy design ในการวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์ แบบบูรณาการ
CaseStudy design
ในการวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์
แบบบูรณาการ
ความจริงก็เคยทำงานวิจัยโดยใช้ #CaseStudy มาด้วยเหมือนกัน ตอนนั้นเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ของ สมเด็จพระเทพรัตน ( พระนามในขณะนั้น ) ทำที่เดียว 10 โรงเรียนเลย
โดยปกติของการวิจัยแบบนี้ตอบโจทย์สหวิทยาการ ที่บูรณาการได้อยู่แล้วเป็นอย่างดี
ที่นี้ก่อนทำ ผู้วิจัยต้องรู้อะไรบ้าง อันนี้ขอจำกัดแค่ caseStudy ในความหมายของ Robert Stake ก่อนละกัน
1. อะไรคือ @case ในโจทย์วิจัยของเราต้องระบุให้ชัดเจนว่า ซึ่งต้องรอบคอบและไตร่ตรองให้ชัดเจนว่า pre-defined boundary ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การระบุลักษณะ เวลา สถานที่ เช่น @case อาจเป็นคน สถานที่ทำงาน ชุมชน ในช่วงเวลาใด มีประเด็นหรือเนื้อหาที่น่าสนใจ คืออะไร
(#ในที่นี้ อ ไก่ ขอใช้ @case เป็นสัญลักษณ์ พิเศษที่แสดงเคส ให้เห็นว่าการระบุ @case มีพารามิเตอร์หลายตัวเกี่ยวข้อง ) @case จึงจับต้องได้ เป็นส่วนใหญ่
เช่น นักวิจัยสนใจจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นธุระกันดาร @case ก็ต้องเป็น “setting” คือ 1)โรงเรียน 2)ในพื้นที่ธุระกันดาร และ “เนื้อหาที่สนใจ” ในที่นี้คือ การจัดการศึกษาที่มีเด็กและเยาวชนมาเล่าเรียน
2. จะได้ @case มาจากไหนบ้าง และ ได้มาอย่างไร ข้อนี้เป็น 2 ประเด็นที่ต้องคิด อ้าวแล้วคิดอย่างไร ก็ต้องคิดจาก การ review งานวิจัย หรือ การปฎิบัติจริงในสังคม หรือ จาก ทฤษฎี
สมมติว่าเราต้องการ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับนักการเมืองสำคัญ เพื่อทำความเข้าใจการโน้มเอียงทางการเมืองของเขา เราก็เลือก อดีตนายกชวน ซึ่งเป็นผู้ที่มีทิศทางทางการเมืองที่เข้มข้น และชัดเจน
ที่นี้ถ้าเราต้องการ ทำความเข้าใจการโน้มเอียงทางการเมืองของนักการเมืองไทยสมัย หลังการปฏิรูปการปกครอง ปี 2474 เราก็ต้องกำหนดว่าจะเลื่อกใครบ้างที่เป็นตัวแทนของนักการเมืองในระยะเวลานั้น ตอนนี้นักวิจัยต้องคิดจาก ความรู้ความเข้าใจทาง บท ที่กล่าวถึง ความโน้มเอียงทางการเมือง ว่า ต้องใช้ @case แบบใด จึงตอบประเด็นที่สนใจ ในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี
3. @case อยู่ใน setting อะไร แลว้ setting สัมพันธ์กับ @case อย่างไร บริบทของเคส มีความสำคัญอย่างไร กับ โจทย์วิจัย เช่น ถ้าเคสเป็นโรงเรียน แล้วโรงเรียนนั้นอยู่ที่ไหน อยู่บนเขาที่มีชนเผ่า หรืออยู่ในเมื่องที่มีคนเผ่าเดียว
4. เราสนใจจะยืนยันข้อค้นพบ ด้วยการทำซำ้หรือไม่ ( replication ) ถ้าต้องการแปลว่าเราต้องเลือกตัวอย่างมากกว่าหนึ่ง ในกลุ่มนั้น
5. จุดประสงค์ ของการวิจัย เน้น การเข้าใจเนื้อแท้ของ @case ก็เป็น intrinsic case study
ถ้าจุดประสงค์ของการวิจัย เน้น เข้าใจ ประเด็นที่สนใจมากกว่า เนื้อแท้ของ @case ก็เรียก instrumental case study
ถ้าจุดประสงค์ของการวิจัย เน้นเข้าใจประเด็น และ มีหลายกลุ่ม ที่ศึกษาในประเด็นเดียวกัน ก็เรียก collective case study หรือ multiple case study การวิเคราะห์ข้อมูลก็ต้องแสดงการเปรียบเทียบด้วย
6. ความเป็นสหวิทยาการ อยู่ที่ ตัว เนื้อแท้หรือประเด็นที่กำลังศึกษา ว่าเป็น ความรู้ของศาสตร์ใดบ้าง เมื่อมีบริบท ในsetting นำมาวิเคราะห์ เป็นตาราง ของก็จะเกิด การบูรณาการศาสตร์ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จ การอธิบายประเด็นก็จะบูรณาการศาสตร์ เข้าด้วยกัน
ดั่งนี้