คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


โครงการกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาขลู่หอม

รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาขลู่หอมตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

  1. หลักการและเหตุผล

ด้วยโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG) เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเศรษฐกิจ BCG ครั้งใหญ่ ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัด ทุกตำบลทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นระดมกำลังมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยนำองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ อว. ไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงาน อาทิ การเกิดธุรกิจใหม่ การขยายตัวทางธุรกิจ การเติบโตของการลงทุน การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ การเพิ่มการบริโภค เป็นต้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน จึงได้มีการประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่ ทำให้เกิด โครงการกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาขลู่หอม ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี สืบเนื่องมาจากพื้นที่ตำบลบางเก่าส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลน ดินในพื้นที่มีลักษณะเป็นดินเค็ม จึงมีต้นขลู่ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่7 บ้านบางเกตุ ซึ่งบ้านบางเกตุได้มีการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยมีนายนพดล นกน้อย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่7 ริเริ่มการนำต้นขลู่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาขลู่หอม ที่มีสรรพคุณการรักษาโรคต่างๆ คณะผู้ปฏิบัติงาน U2T จึงนำองค์ความรู้ คือ การเพิ่มมูลค่าสินค้า การตลาดออนไลน์ มาส่งเสริมด้านการขาย เพื่อให้เกิดรายได้จากช่องทางต่างๆ เป็นการต่อยอดพัฒนาสัมมาอาชีพและเป็นแนวทางในการสร้างอาชีพใหม่มีรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น

 

  1. วัตถุประสงค์
    • เพื่อให้ชาวบ้านตำบลบางเก่านำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
    • เพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆและแนวทางในการสร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชนตำบลบางเก่า
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับให้เหมาะสมกับอาชีพและวัสดุธรรมชาติในตำบลบางเก่า
  2. วิธีการดำเนินการ
    • วางแผนร่วมกับคณะผู้ปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางในการจัดอบรม
    • ติดต่อประสานงานกับเทศบาลตำบลบางเก่า ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้าน
    • ดำเนินการฝึกอบรมตามโครงการ
    • สรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ
  3. ระยะเวลาการดำเนินการ

วันที่ 7-14 กันยายน 2565 

  1. สถานที่ดำเนินการ

หมู่ 1-5,7-9 ในตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

  1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    • ชาวบ้านตำบลบางเก่านำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
    • ชาวบ้านตำบลบางเก่ามีองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างอาชีพใหม่
    • ชาวบ้านตำบลบางเก่ามีองค์ความรู้ใหม่มาต่อยอดอาชีพ
  2. การประเมินผลโครงการ

ประเมินผลการอบรม หลังจากการอบรมเสร็จสิ้น รวมทั้งประเมินจากพฤติกรรม และปฏิกิริยาของผู้เข้ารับการอบรม โดยใช้แบบสอบถามและการสังเกตพฤติกรรม

               8.1 วัตถุประสงค์ของการประเมิน

                   เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

               8.2 ขอบเขตของการประเมิน

                   ผู้เข้าอบรมโครงการ ชาวบ้านตำบลบางเก่า หมู่ละ 16 คน  

8.3 วิธีการดำเนินการ

 เครื่องมือที่ใช้ประเมิน แบบสอบถาม แบบ scale ประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ

          ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม

          ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจการดำเนินงานตามโครงการ

          ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ

การแปลผลข้อมูล ในการแปลความหมายของข้อมูล แปลผลจากค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้

เกณฑ์การให้คะแนน

 

                           ค่าเฉลี่ย                                       ความหมาย

4.51-5.00

ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

3.51-4.50

ระดับความพึงพอใจมาก

2.51-3.50

ระดับความพึงพอใจปานกลาง

1.51-2.50

ระดับความพึงพอใจน้อย

1.00-1.50

ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด

มากที่สุด

5

มาก

4

ปานกลาง

3

น้อย

2

น้อยที่สุด

1

 

 สรุปความพึงพอใจผลการดำเนินงาน

โครงการกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาขลู่หอม

ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ

ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามข้อมูลทั่วไป

(n= 128)

ข้อมูลส่วนบุคคล

จำนวน (คน)

ร้อยละ

1.      เพศ

ชาย

65

51

หญิง

63

49

 

ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 128 คน (จำนวนที่ใช้คือ จำนวนรวมทั้งหมดของชาวบ้านทั้ง 9 หมู่ หมู่ละ 16 คน) อธิบายได้ดังนี้

  • เพศ ผู้เข้าอบรมเป็นเพศชาย มากกว่า เพศหญิง ร้อยละ 51 และร้อยละ 49 ตามลำดับ

ส่วนที่ 2 ระดับความพึงพอใจในด้านการจัดกิจกรรมอบรม / ความรู้ความเข้าใจและการนำไปใช้ต่อการเข้าร่วมโครงการ

ตารางที่ 2 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเกณฑ์การประเมินของผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจ

                                                                                                                 (n= 128)

 

ด้านการจัดกิจกรรม

ระดับความพึงพอใจ

 

ค่าเฉลี่ย

 

S.D.

 

เกณฑ์การประเมิน

มากที่สุด

5

มาก

 

4

ปานกลาง

3

น้อย

 

2

น้อยที่สุด

1

1.การเตรียมตัวและความพร้อมของวิทยากร

110

18

0

0

0

4.86

0.35

มากที่สุด

2.การจัดกิจกรรมอบรมมีความเหมาะสมและเป็นขั้นตอน

101

27

0

0

0

4.79

0.41

มากที่สุด

3.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมอบรมมีความเหมาะสม

101

27

0

0

0

4.79

0.41

มากที่สุด

4.สถานที่ในการจัดกิจกรรมอบรมมีความเหมาะสม

105

23

0

0

0

4.82

0.38

มากที่สุด

5.การจัดกิจกรรมอบรมโดยภาพรวม

110

18

0

0

0

4.86

0.35

มากที่สุด

รวมด้านการจัดกิจกรรมอบรม

4.82

0.38

มากที่สุด

ระดับความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมอบรม

            จากแบบสอบถามผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในด้านการจัดกิจกรรมอบรม อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.82 ความพึงพอใจในรายข้อ สรุปว่า (ข้อ 5) การจัดกิจกรรมอบรมโดยภาพรวม และ(ข้อ 1) การเตรียมตัวและความพร้อมของวิทยากรซึ่งมีค่าเท่ากัน ค่าเฉลี่ย 4.86 มากที่สุด รองลงมา คือ (ข้อ 4)  สถานที่ในการจัดกิจกรรมอบรมมีความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย  4.82 และน้อยที่สุด คือ (ข้อ 3) ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมอบรมมีความเหมาะสม และ(ข้อ 2) การจัดกิจกรรมอบรมมีความเหมาะสมและเป็นขั้นตอนซึ่งมีค่าเท่ากัน ค่าเฉลี่ย  4.79

(n= 128)

 

 

ด้านความรู้ความเข้าใจ

 

 

 

ระดับความพึงพอใจ

 

 

ค่าเฉลี่ย

 

 

S.D.

 

เกณฑ์การประเมิน

มากที่สุด

  5

มาก

 

4

ปานกลาง

 3

น้อย

 

2

น้อยที่สุด

1

1.ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องชาขลู่ก่อนการอบรม

89

39

0

0

0

4.70

0.46

มากที่สุด

2.ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องชาขลู่หลังการอบรม

97

31

0

0

0

4.76

0.43

มากที่สุด

3.สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

102

26

0

0

0

4.80

0.40

มากที่สุด

4.สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่ชุมชน

108

20

0

0

0

4.84

0.36

มากที่สุด

5.สามารถนำทรัพยากรและวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ได้

83

45

0

0

0

4.65

0.48

มากที่สุด

รวมด้านความรู้ความเข้าใจ

4.75

0.43

มากที่สุด

ระดับความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ

            จากแบบสอบถามผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในด้านความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.75 ความพึงพอใจในรายข้อ สรุปว่า (ข้อ 4) สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่ชุมชน มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.84  รองลงมา คือ (ข้อ 3) สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ค่าเฉลี่ย 4.80  (ข้อ 2) ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องชาขลู่หลังการอบรม ค่าเฉลี่ย 4.76 (ข้อ 1) ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องชาขลู่ก่อนการอบรม ค่าเฉลี่ย 4.70 และน้อยที่สุด คือ (ข้อ 5) สามารถนำทรัพยากรและวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ได้ ค่าเฉลี่ย  4.65

ส่วนที่  3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

  • เพิ่มกิจกรรมการอบรมมากขึ้น
  • เพิ่มเมนูอาหารและวัตถุดิบใหม่ๆ เช่น การทำเต้าทึง