คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕
วันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สถิตในใจตราบนิจนิรันดร์
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ที่โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ระหว่างที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ทรงศึกษาอยู่ที่ Harvard Medical School และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งขณะนั้นทรงศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยการพยาบาล Simmons ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเชตส์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

58 Four nurses who attended him in his infancy

ปี ๒๕๑๐ เมื่อครั้นเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังโรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น และพบกับ ดร. ดับเบิลยู สจ๊วต วิทท์มอร์ รวมทั้งคณะพยาบาลที่ถวายพระประสูติกาล ปัจจุบันโรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น จัดข้อมูลร่วมรำลึกถึงการพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียวในดินแดนของสหรัฐอเมริกาบนแผ่นป้ายใต้พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่บริเวณชั้น ๕ ของโรงพยาบาลฯ ขณะเดียวกัน จตุรัสภูมิพลที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ก็มีข้อความรำลึกถึงการพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์นด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า ในรัชกาลปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐ มีความพิเศษยิ่งกว่าในทุกรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาในโรงเรียนโนแวล เดอ ลา สวิส โรมอนด์ ชัยยี ซูร์ โลซานน์ และได้ทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนจิมนาส คลาสซิค คองโตนาล แห่งโลซานน์จนจบ ทรงได้รับประกาศนียบัตรชั้นมัธยม และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ รัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสมบัติ แต่เนื่องจากยังทรงศึกษาไม่จบ จึงเสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อในวิชากฎหมายและการเมือง เพื่อให้เหมาะสมกับการที่ต้องทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไป

ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาและพระราชโอรส 4 พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี  และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระราชอัจฉริยภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพทางด้านต่าง ๆ มากมาย เป็นแบบอย่างการเรียนรู้ การศึกษา อันเป็นแรงบันดาลใจและแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้ให้แก่ชาวไทยทุกคน ได้แก่ พระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรี ทรงดนตรีเชี่ยวชาญในหลายประเภท ทรงแต่งเพลงพระราชนิพนธ์หลายเพลง และสนับสนุนอนุรักษ์เครื่องดนตรีไทยให้คงอยู่คู่กับประเทศสืบไป พระอัจฉริยภาพทางด้านถ่ายภาพ ชำนาญการใช้ถ่ายภาพ การอัดขยายภาพ ทรงประดิษฐ์แผ่นกรองแสง และทรงถ่ายภาพด้วยพระองค์เองเมื่อเสด็จเยือนพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร พระอัจฉริยภาพทางด้านกีฬา ทรงโปรดเล่นกี่ฬาหลายอย่าง เช่น ฮอกกี้น้ำแข็ง การยิงปืน ว่ายน้ำ สกีหิมะ สกีน้ำ แบดมินตัน และเรือกรรเชียง ทรงศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและฝึกจนเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะกีฬาเรือใบ และลงเแข่งขันในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 อีกด้วย พระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะ ทรงปรีชาในด้านงานจิตรกรรม ทรงศึกษาขั้นตอนการเขียน เทคนิค ทั้งภาพเสมือนจริง ภาพนามธรรม ทรงงานวาดภาพเมื่อว่างจากพระราชภารกิจ พระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาและวรรณกรรม ทรงสื่อสารภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทรงสนพระราชหฤทัยในการใช้ภาษาและภาษาสันสกฤตอย่างละเอียด พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง พระอัจฉริยภาพทางด้านการเกษตรและชลประทาน ทรงศึกษาเรื่องการกั้นน้ำและสร้างเขื่อน และมีพระราชดำริมากมายเพื่อช่วยแก้ปัญหาป่าไม้ แหล่งน้ำและดิน รวมถึงพระราชทาน ราชดำริอันเนื่องมาจากพระอัจฉริยภาพของพระองค์อย่าง “ทฤษฎีใหม่” แนวทางเกษตรที่ยั่งยืนรวมถึง แนวทางการดำรงชีวิตที่มั่นคงและพึ่งพาตัวเองได้อย่าง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายประเทศและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุขของประเทศ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศไทยกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้น ที่มีความสัมพันธ์อันดีอยู่แล้ว ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทย ไปยังประเทศต่าง ๆ นั้นด้วย ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างไกลมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล และเมื่อเสร็จสิ้นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ แล้ว ก็ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ที่เป็นประมุขของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จและเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะทั้งหลาย ต่างก็ประทับใจในพระราชวงศ์ของไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยอย่างทั่วหน้า

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ ร่วมกันเขียนเรื่องต่าง ๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น ๔ สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า รวมถึงพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาในระบบโรงเรียนอื่นๆ ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนวังไกลกังวล โรงเรียนร่มเกล้า มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนราชประชาสมาสัย โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน มูลนิธิช่วยครูอาวุโส และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราห์  

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.dltv.ac.th เริ่มออกอากาศการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television: DLTV) เป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๘ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ ดำเนินการถ่ายทอดสดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตลอดจนการศึกษาสายอาชีพ มาอย่างต่อเนื่องกว่า ๒๐ ปี

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่าง ๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้ป่วยไข้ได้ทันที

นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด็กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร

สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมวัดทุกแห่ง ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางของชุมชนในชนบท โดยจะพระราชทานกล่องยาแก่วัด เพื่อพระภิกษุใช้เมื่อเกิดอาพาธ และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรผู้ป่วยเจ็บในหมู่บ้านนั้นๆ ส่วนในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมหน่วยทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร ที่ออกไปตั้งฐานปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดาร ก็จะพระราชทานสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ รวมทั้งยารักษาโรคสำหรับใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ และใช้ในการรักษาพยาบาล และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรในท้องที่ ที่มาขอความช่วยเหลือ ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติกว่า ๗๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนพระบรมวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนชาวไทยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยได้พระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ  ดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งทุกโครงการล้วนมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ “ความอยู่ดีกินดีและความผาสุก” ของประชาชนทั้งสิ้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีจำนวนทั้งสิ้น ๔,๘๗๗ โครงการ (ข้อมูล กรกฎาคม ๒๕๖๓) โดยมีที่มาของโครงการฯ จาก ๓ แหล่ง ดังนี้ ๑) โครงการฯ ที่ได้พระราชทานพระราชดำริโดยตรง ๒) โครงการฯ ที่เกิดจำกการที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานความช่วยเหลือ ๓) โครงการฯ ที่หน่วยงานได้กราบบังคมทูลรายงานและ/หรือขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แบ่งประเภทโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ออกเป็น ๘ ประเภท ดังนี้ ๑) โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ๒) โครงการพัฒนาด้านการเกษตร ๓) โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ๔) โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ ๕) โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข ๖) โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร ๗) โครงการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคม/การศึกษา และ ๘) โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ ศึกษาโครงการในพระราชดำริเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rdpb.go.th/th/Projects

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ

00 Greeted at the Washington National Airport by President Eisenhower

01

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งที่ ๒ การเสด็จครั้งแรก ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน – ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๓ (ค.ศ.๑๙๖๐) ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประธานาธิบดีดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระราชโอรสและพระราชธิดาเสด็จฯ เยือนเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ได้แก่ เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย นครลอสแอนเจลิส กรุงวอชิงตัน นครนิวยอร์ก เมืองเคมบริดจ์ นครบอสตัน มลรัฐแมสซาซูเซตส์ และนครซานฟรานซิสโก

ครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๐ (ค.ศ.๑๙๖๗) ในครั้งนั้น พระองค์ได้เสด็จฯ เยือนเมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย เป็นครั้งที่ ๒ เพื่อทรงประกอบพิธีเปิดศาลาไทยในบริเวณ East-West Center มหาวิทยาลัยฮาวาย และเสด็จฯ มลรัฐแมสซาชูเซตส์และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วิทยาลัย Williams College ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านนิติศาสตร์ จากนั้นเสด็จฯ ต่อไปยังนครนิวยอร์กและกรุงวอชิงตัน และได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson เข้าเฝ้าฯ ด้วย

23AddressCongress

25 Joint Session24

เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปรัฐสภาสหรัฐ และทรงมีพระราชดำรัสในที่ประชุมร่วมของรัฐสภาอเมริกัน โดยพระราชทานเหตุผล ๓ ประการในการเสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ดังนี้

ประการที่ ๑ “พระองค์ปรารถนาที่จะได้เห็นและเรียนรู้ประเทศที่มีความแตกต่างกันด้วย เชื้อชาติ ขนบธรรมเนียม และความเชื่อในศาสนา ดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ในความมีอิสระและผาสุกทั่วหน้ากัน…”

ประการที่ ๒ “แม้ว่าคนอเมริกันกับคนไทยอยู่กันคนละมุมโลก ก็มีอย่างหนึ่งเหมือนกัน คือ ความรักอิสระภาพ โดยแท้คำว่าไทย แปลว่าอิสระอยู่แล้ว และทรงรับสั่งถึงความสำคัญของการคบหาระหว่างประชาชนของสองประเทศ ที่จะเป็นประกันแห่งเสรีภาพ และความเจริญ…”

ประการที่ ๓ “ข้าพเจ้ามีความปรารถนาโดยธรรมดามนุษย์ที่จะได้เข้ามาเห็นสถานที่เกิด…” ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ

ในช่วงท้าย ทรงมีพระราชดำรัสด้วยว่า “สัมพันธภาพระหว่างสองประเทศมิเคยมีความด่างพร้อย กับมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งด้วยไมตรีจิตต่อกัน จึงทรงตั้งพระหทัยที่จะได้เห็นความร่วมมือกระชับที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แสดงแก่โลกว่า สหรัฐฯ และไทยมีความประสงค์และยึดมั่นอันเดียวกัน และจะชักนำไปสู่สิ่งเดียวกันก็ คือ ประโยชน์ร่วมกัน…”

พระราชดำรัสที่พระราชทานในโอกาสนั้น ได้รับเสียงปรบมือจากสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ อย่างกึกก้องเป็นระยะตลอดช่วง แสดงถึงพระราชปฏิภาณและไหวพริบและการที่พระองค์ทรงเน้นถึง …สัมพันธไมตรีอันดีและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างทั้งสองประเทศ…” ยังสะท้อนถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตในการวางกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในโลกปัจจุบัน บนพื้นฐานของความเป็นมิตรที่ใกล้ชิดและหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งยังคงถือเป็นหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในปัจจุบัน

บทความที่น่าสนใจและพระเกียรติคุณปรากฏไพศาล

1. Honoring a Down to Earth King on World Soil Day

รางวัล King Bhumibol World Soil Day Award จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือของไทยและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations – FAO) เมื่อปี 2561 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อถวายสดุดีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน โดยการมอบรางวัลวันดินโลกจะเกิดขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีที่ประเทศไทย

content-king-ix-and-v

Upon a close examination of the history of Thailand’s monarchy, two of the Kingdom’s monarchs truly stand out as being difference makers in their noble efforts to serve the Thai nation and people: King Chulalongkorn (Rama V) and King Bhumibol (Rama IX).

Although the two monarchs ruled the nation during different periods and under different circumstances, Their Majesties’ reigns shared many common features, particularly in their efforts to modernize the country. Read more

2. His Majesty King Bhumibol Adulyadej and His Passion for Music

world-soil-day_-p1

He sat at the pinnacle of His society, but constitutional ruler King Bhumibol Adulyadej of Thailand was a monarch and a man who was down to earth. For much of His 70 years on the throne – the longest reign of any monarch at the time of His passing – King Bhumibol traveled to the poorest and most remote corners of His Kingdom, sitting on the ground with farmers and villagers, listening to their problems and responding with over 4,000 sustainable development projects to better their lives. Many dealt with improving water, agriculture, livelihoods and health. As one of His closest aides said, however, “we were always confronted with soil issues.” Read more

img_8988

800

img_8989

 

3. King Bhumibol Adulyadej and the U.S. – An Enduring Friendship

King Bhumibol Adulyadej and the U.S. - An enduring friendship

In remembrance of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, U.S. Embassy Bangkok presents historic moments of the enduring friendship between His Majesty King Bhumibol Adulyadej and the U.S. – U.S. Embassy and  Consulate in Thailand  https://th.usembassy.gov/our-relationship/king-bhumibol-adulyadej-u-s-enduring-friendship/

4. วิดิทัศน์ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสดุดีและถวายพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ 

กระทรวงการต่างประเทศขอร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผ่านวิดิทัศน์ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสดุดีและถวายพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ In Remembrance of His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej at the UNGA Special Tribute to H.M. the late King on 28 October 2016 – กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand https://fb.watch/8spkV1p5aG/


แหล่งที่มา
1. http://www.tsdf.nida.ac.th/th/royally-initiated-projects/ 
2. https://thaiembdc.org/2017/10/26/thailand-appreciates-warm-friendship-from-america-during-royal-cremation-ceremony-of-his-majesty-late-king-bhumibol-adulyadej/
3. http://kanchanapisek.or.th/projects/index.th.html
4. http://www.rdpb.go.th/th/Projects
5. https://youtu.be/sD09z-WBaLI
6. https://thaiembdc.org/th/2015/07/18/1960-1967-2/

Scroll to Top