คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

จิตวิทยาเชิงบวก

นับแต่ปี 2556 ที่เราเปิดหลักสูตร จิตวิทยาประยุกต์รุ่นหนึ่ง-สองจบกัน
ไปแล้ว
ปีการศึกษา 2564 จะเป็นรุ่นที่ 6เรากำลังจะมีนักจิตวิทยาประยุกต์เกือบ
100 คน ที่ใช้แนวทางของจิตวิทยาเชิงบวก ไปทำงานในองค์กรอุตสาหกรรม สาธารณสุข การศึกษา และองค์กรชุมชน
นักจิตวิทยาประยุกต์กลุ่มนี้จะนำศาสตร์ ด้านการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการช่วยเหลือด้านจิตใจ มาช่วยสร้างให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ เพื่อการเติบโตอย่างสูงสุด เข้าใจและส่งเสริมเงื่อนไขภายนอกต่างๆ ที่จะช่วยให้ความสุข สมดุลย์ และสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ของคน องค์กร และ กลุ่ม
หัวข้อที่เราสนใจเกี่ยวกับ ความเข้มแข็งทางจิตใจและนิสัย คุณธรรม ความสุข ความกตัญญู ทักษะสมองเพื่อการบริหาร ความหวัง ความภาคภูมิใจในตนเอง แรงจูงใจ การมองโลกในแง่ดี ความกล้าหาญ การให้อภัย ความเมตตา จิตวิญญาณ ความฉลาดด้านต่างๆ ความเป็นพลเมืองโลก ความช่วยเหลือผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงนวัตกรรม
หลายคนอาจมองว่า
#positivePsychology เพิ่งเกิดเมื่อ Martin Seligman ประธานสมาคมจิตวิทยาของ USA กล่าวคำนี้ออกมาในการประชุมสมาคม เมื่อ ปี ค.ศ. 1998
ในความจริงแล้ว นักจิตวิทยาหลายคนเชื่อว่า เราได้มีแนวคิด และการวิจัยที่จัดเป็นจิตวิยาเชิงบวกนับตั้งแต่สมัย William James ปีค.ศ. 1902 ที่เขียนงาน “healthy mindedness ” หรือ แนวคิดการปรึกษาตามแนวมนุษยนิยมของ Rogers , C. 1961 หรือ Maslow “self-actuslization ” ก็จัดว่าเป็นแนวทางของจิตวิทยาเชิงบวก ดังนั้นจิตวิทยาเชิงบวกจึงมิใช่แนวคิดที่ไม่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ทางจิตวิทยามีอยู่แล้ว แต่อย่างใด
วารสารจิตวิทยาเชิงบวกได้กล่าวถึงการเติบโตของแนวคิดนี้ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
1. ให้สังเคราะห์ความรู้ระหว่างจิตวิทยาเชิงบวกและลบ ขยายความได้ว่า นักจิตวิทยาเชิงบวก ควรเข้าไปศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ หรือ ประสบการณ์ด้านลบของคน เช่นการสูญเสีย แต่ ศึกษาในมุมของการเติบโตเมื่อเราต้องเผชิญการสูญเสีย
2. สร้างความรู้ใหม่ที่อธิบายความสำเร็จ แม้ในความยากลำบาก หรือขาดแคลน โดยต่อเติมจากความรู้เดิมหรือคำอธิบาย ไม่ละทิ้งความรู้ที่เป็นจิตวิทยาทั้งหมดรวมทั้งศาสาตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลหลายระดับ เพื่อทำความเข้าใจกับ ปฏิสัมพันธ์(interaction ) ของปัจจัยที่อธิบายปรากฏการณ์หรือประสบการณ์ทางบวกที่เกิดขึ้น ระหว่างบุคคคล สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. มองหากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประโยชน์ในขณะเกียวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจ จิตวิทยาประยุกต์จองเราจึงเน้นการสร้างประโยชน์ ทันทีในงานปริญญานิพนธ์ #จปSWU
เราเข้าใจตรงกันใช่ไหม
Cr. Facebook ดุษฎี_สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
Scroll to Top