คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา บ้านดอนขุนห้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม – ทอผ้า การปลูกสับปะรด ระบบสหกรณ์ ประวัติ ชุมชนดอนขุนห้วย ตลอดจนองค์ความรู้อื่น ๆ เช่น กระดาษใบสับปะรด ผักยกโต๊ะ

  2. เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวบ้านดอนขุนห้วย ตำบลดอนขุนห้วยอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ความก้าวหน้าในการดำเนินการ
ตอนที่ 1 ความก้าวหน้าภาพรวมโครงการ
ดำเนินการในกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม – ทอผ้า การปลูกสับปะรด ระบบสหกรณ์ และประวัติชุมชนดอนขุนห้วย
1) ประชุมสำรวจความต้องการจำเป็นและสำรวจข้อมูล
ประชุมกลุ่มเพื่อสำรวจองค์ความรู้ในการจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน โดยได้ดำเนินกิจกรรมในวันที่ วันที่ 20 มิถุนายน 2565 กิจกรรมเข้ากลุ่มตามประเด็นเพื่อรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 2) การปลูกสับปะรด 3) ระบบสหกรณ์ 4) ประวัติชุมชนดอนขุนห้วย

2) สำรวจภาพเก่าเมื่อครั้งทรงเสด็จ
คณะทำงานได้สำรวจข้อมูลเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับประวัติการก่อตั้งสหกรณ์ดอนขุนห้วย และชุมชนดอนขุนห้วย และได้ภาพสำคัญ ดังตัวอย่างนี้

3) สำรวจพื้นที่จัดทำฐานการเรียนรู้
คณะทำงานร่วมกับผู้ออกแบบได้เดินทางออกสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนการจัดทำศูนย์การเรียนรู้ทั้งบริเวณหน้า ที่ทำการสหกรณ์การเกษตรดอนขุนห้วยและบริเวณสถานเลี้ยงใหม่

ตอนที่ 2 ความก้าวหน้าแต่ละฐานการเรียนรู้
1) ฐานการเรียนรู้หม่อนไหม
ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์และสำรวจพื้นที่ดังภาพนี้

  1. ฐานการเรียนรู้สับปะรด
    ฐานการเรียนรู้สับปะรดได้ทำการสัมภาษณ์ข้อมูลและถ่ายภาพประกอบศูนย์การเรียนรู้

3) ฐานการเรียนรู้ประวัติสหกรณ์และประวัติชุมชน
ฐานการเรียนรู้ ประวัติสหกรณ์และประวัติชุมชนได้ดำเนินการในการสำรวจข้อมูลและสำรวจสถานที่สำคัญ ดังนี้

4) ฐานการเรียนรู้กระดาษใบสับปะรด
วิธีการทำกระดาษใบสับปะรด
1. เลือกใบสับปะรดที่ไม่แก่จนเกินไป จำนวน 30 กิโลกรัม นำมาล้างทำความสะอาด และฉีกเป็นเส้นหรือสับใบให้เล็กลง เพื่อให้เปื่อยยุ่ยได้ง่ายขึ้น

2. นำใบสับปะรด 30 กิโลกรัมและโซดาไฟ 1 กิโลกรัม ใส่ลงในกระทะเติมน้ำให้ท่วมใบสับปะรด ต้มนาน 3 ชั่วโมง

3. คอยกดให้ใบสับปะรดจมน้ำ และระวังน้ำล้นออกจากภาชนะต้ม    

  1. เมื่อครบ 3 ชั่วโมง ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น นำใส่ถุงตาข่าย มัดปากถุงให้แน่น และนำไปย่ำให้น้ำไหลผ่าน เพื่อล้างเมือกใบสับปะรดออกให้มากที่สุด

5. นำเส้นใยที่บีบน้ำจนแห้งสะอาดแล้วไปเตรียมปั่นให้ละเอียด

6. ปั่นเส้นใยให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่นสับ เติมน้ำลงไปให้ปั่นได้ง่าย

  1. นำเส้นใยที่ปั่นเรียบร้อยแล้วไปย่ำน้ำทิ้งอีก 1 ครั้ง

หมายเหตุ :     การปั่นเส้นใยจะทำให้ได้กระดาษที่เรียบเนียน

                 หากไม่ปั่นเส้นใยจะได้กระดาษที่มีลวดลายสายงามตามธรรมชาติ

ขั้นตอนการฟอกสี

  1. นำใยสับปะรดที่บีบน้ำจนแห้งหมาด จำนวน 5 กิโลกรัม เติมน้ำลงไปให้เส้นใยแตกตัว
  2. ผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จำนวน 500 กรัม ลงไป คนให้เข้ากัน ต้มนาน 3 ชั่วโมง
  1. ล้างทำความสะอาดย่ำน้ำไหลผ่านอีกครั้ง

ขั้นตอนการย้อมสี

  1. เติมน้ำลงในภาชนะต้ม ผสมสีย้อมผ้า 1 ซอง และเกลือป่น 1 กำมือ คนให้เข้ากัน
  2. รอจนน้ำเดือด นำใยสับปะรดที่บีบน้ำจนแห้งหมาด จำนวน 5 กิโลกรัม ลงไปต้มนาน 45 นาที
  3. ช้อนเส้นใยออกมาบีบน้ำให้หมด

ขั้นตอนการร่อนกระดาษ

  1. นำเส้นใยผสมน้ำให้กระจายตัวไม่จับเป็นก้อน
  2. เติมน้ำใส่ในอ่างประมาณครึ่งอ่าง ตักเส้นใยใส่ลงไปให้กระจายเต็มพื้นที่ รอให้เส้นใยตกลงก้นอ่าง
  3. ใช้แผ่นเฟรมช้อนเส้นใยโดยกดลงที่ก้นอ่างและช้อนเข้าหาตัว
  4. ยกแผ่นเฟรมขึ้นช้าๆ ให้เส้นใยกระจายสม่ำเสมอทั้งแผ่น
  1. นำแผ่นเฟรมไปตากในแนวนอนในพื้นที่ร่มเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน หรือจนกว่าจะแห้งสนิท

หมายเหตุ : ไม่ควรนำไปตากแดดโดยตรงเพราะจะทำให้กระดาษย่นเสียรูปทรง

5) ฐานการเรียนรู้ผักยกโต๊ะ

Scroll to Top